เกี่ยวกับสถาบันวิจัย

การจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการดำเนินการวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จัดตั้งขึ้นตั้งแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงยังมีฐานะเป็นวิทยาลัยครู เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง โดยเรียกหน่วยงานนี้ว่า “ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ”


ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ โดย “ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ” แบ่งออกเป็น 2 หน่วยงานย่อย ได้แก่ 1.สำนักวิจัย มีหน้าที่ ประสานและสนับสนุนงานด้านการวิจัย 2. สำนักฝึกอบรมและบริการวิชาการ มีหน้าที่ ประสานและดำเนินงานด้านการฝึกอบรมและการบริการวิชาการแก่สังคม


พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศ เรื่อง การเปลี่ยนการแบ่งส่วนราชการภายในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยรวม “สำนักวิจัย” กับ “สำนักฝึกอบรมและบริการวิชาการ” เข้าด้วยกันอีกครั้ง เป็นหน่วยงานที่มีชื่อว่า “สำนักวิจัยและบริการวิชาการ” โดยยังคงหน้าที่หลักตามเดิม


วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548 สถาบันราชภัฏทุกแห่งได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” และให้มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในใหม่อีกครั้ง ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้กำหนดให้มีหน่วยงานภายใน ประกอบด้วย 4 คณะ และ 5 สำนักงาน คือ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สำนักงานอธิการบดี สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสถาบันวิจัยและพัฒนา


การประสานและสนับสนุนงานวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย ดังที่เคยปฏิบัติมา วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและกำหนดหน้าที่ให้สถาบันวิจัยและพัฒนา มีหน้าที่และภารกิจหลักในการประสานและสนับสนุนการดำเนินการด้านการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม และให้บริการวิชาการทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมแก่สังคมเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

สร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณค่า เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อผลิตนักวิจัย และสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพออกสู่สังคม

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
2. เสริมสร้างและพัฒนานักวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
3. สร้างเครือข่ายภาคีการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
4. สนับสนุนการวิจัยตามยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ สนองความต้องการของท้องถิ่นและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
5. ส่งเสริมการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
6. ส่งเสริมการบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
7. ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
2. เพื่อให้บริการทางวิชากรทางวิชาการด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล และการจัดการความรู้ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์
4. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ พัฒนา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเน้นความเป็นสากลเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน